การเหลากราม
การ ศัลยกรรม เหลากราม ที่มักจะเรียก การผ่าตัดเพื่อแก้ไข ลักษณะ กรามกาง หรือมี สันกรามใหญ่ โดยแท้จริง เป็นการศัลยกรรม ที่ตัดเฉพาะส่วนของ มุมกราม เท่านั้น จึงควรเรียกว่า ศัลยกรรมตัดกระดูกมุมกราม ( mandible angle reduction )
ศัลยกรรมตัดมุมกราม จะทำผ่านแผลในปากเพื่อไม่ให้มีแผลภายนอก การทำจะต้องใช้การดมยาสลบ และพักฟื้นใน รพ.หลังทำ 1 วัน เวลาในการ ผ่าตัด 2-3 ชั่วโมง ค่าใช้จ่าย 65,000 – 75,000 บาทเทคนิกที่หมอใช้ เป็นเทคนิกที่ทำทั้งการตัดและเหลามุมกรามร่วมกันอยู่แล้ว
การตัดหรือลดขนาดมุมกราม จะทำให้ในรายที่มีปัญหามุมกรามกางหรือใหญ่ และไม่มีปัญหาการสบฟัน หลังการแก้ไข ผลที่ได้จะช่วยทำให้รูปหน้าที่เป็นเหลี่ยมจากมุมกราม ดูกลมกลืนและเรียวขึ้น
คำศัพท์ที่เป็น ภาษาไทย สำหรับการทำผ่าตัด ในบางคำไม่สามารถจะบอกได้ชัดเจนแน่นอนว่าหมายถึงสิ่งใดอย่างแท้จริง โดยเฉพาะคำที่ผู้พูดหรือเขียน จะใช้ตามความคิดของตนเอง หรือ แม้แต่คำที่แพทย์เอง บางครั้งเพื่อพูดแบบง่ายๆให้คนไข้พอเข้าใจในวิธี
เช่น การทำ ศัลยกรรม ตัดลดขนาดมุมกราม ( reduction angle mandible surgery) ซึ่งเป็น การผ่าตัด เพื่อตัดส่วนกระดูกมุมกรามที่กางออก แพทย์บางท่าน หรือคนไข้บางคน ก็จะเรียกได้หลายๆแบบ เช่น ผ่าตัดเหลากราม ผ่าตัดกราม ผ่าตัดลบกราม ผ่าตัดมุมกราม ฯลฯ
ทางการผ่าตัดกระดูกใบหน้าและศีรษะได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วทำให้การผ่าตัด แก้ไขโครงสร้างของใบหน้าสามารถทำได้มากยิ่งขึ้นและมีความปลอดภัยมากขึ้น?
ใบหน้าของคนทั่วไปจะสามารถแบ่งส่วนออกเป็นสามส่วนหลัก ๆ จากบนลงล่างคือ ส่วนบนสุด ได้แก่กระโหลกและหน้าผาก ส่วนกลางคือส่วนกรามบนจมูกและเบ้าตารวมทั้งโหนกแก้ม ส่วนล่างสุดคือส่วนกระดูกกราม การมีสัดส่วนของใบหน้าที่ใหญ่เกินเหมาะสมย่อมจะทำให้รูปร่างของใบหน้าดูไม่ งามได้ ในผู้หญิงทั่วไปนิยมรูปใบหน้าที่เรียวยาวมากกว่าใบหน้ากว้าง กลมหรือเหลี่ยม ดังเช่นในผู้ชาย การแก้ไขสัดส่วนของใบหน้าในส่วนต่าง ๆ สามารถทำให้โครงสร้างของใบหน้าเปลี่ยนแปลงได้ ในคนไทยและเอเซียเช่นญี่ปุ่น เกาหลี มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับใบหน้าส่วนกลางและส่วนล่าง คือมีความโหนกของกระดูกโหนกแก้ม และกราม ทำให้ได้รูปทรงใบหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม การตัดแต่งกระดูกในส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นต้องการของผู้ที่อยากจะได้รูปหน้าที่เรียวขึ้น ในปัจจุบันนี้ความก้าวหน้าทางการผ่าตัดกระดูกใบหน้าและศีรษะได้พัฒนาไปอย่าง รวดเร็วทำให้การผ่าตัดแก้ไขโครงสร้างของใบหน้าสามารถทำได้มากยิ่งขึ้นและมี ความปลอดภัยมากขึ้น เช่นเดียวกับการแก้ไขกรามเพื่อความสวยงามก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเช่นเดียวกัน
ในที่นี้จะกล่าวถึงการตัดแต่งมุมกราม ที่ไม่ใช่การตัดกรามเพื่อแก้ไขความผิดปกติของการสบฟันและการขบเคี้ยว ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีรายละเอียดมากกว่า รวมทั้งการตัดแต่งกระดูกโหนกแก้มซึ่งจะนำมาเสนอในโอกาสต่อ ๆ ไป
เมื่อพิจารณากรามที่ยื่นทางด้านหลังนั้นมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องด้วยกัน ได้แก่ กระดูกกรามด้านหลังหรือมุมกราม, กล้ามเนื้อที่คลุมมุมกราม ซึ่งมีส่วนสำคัญในการบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งในบางคนมักจะมีขนาดใหญ่และหนาด้วย, เส้นประสาทที่มุดในกระดูกกรามเพื่อรับรู้ความรู้สึกของซี่ฟันล่างส่วนหลัง และริมฝีปากส่วนล่าง การตัดแต่งมุมกรามนั้นมีขั้นตอนในการดูแลได้แก่ แพทย์ผู้รักษาจะต้องตรวจดูสภาพของกระดูกกรามทั้งหมดเสียก่อน อันได้แก่ความหนา ความสูงของกระดูกกรามทั้งอัน ความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกกรามและกระดูกใบหน้าส่วนบนรวมทั้งการสบฟันว่าผิด ปกติด้วยหรือไม่ ความหนาของกล้ามเนื้อมุมกรามดังกล่าว ความผิดปกติของกระดูกกรามส่วนอื่น เช่นคาง ข้อขากรรไกร รวมทั้งฟันซี่ต่าง ๆ ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อจะได้นำข้อมูลมาประกอบการตัดกรามว่าจะสามารถทำให้ใบหน้ามีการ เปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด และจะได้รูปร่างของใบหน้าสมดุลย์กับส่วนอื่นของใบหน้าหรือไม่ หลังจากนั้นต้องมีการตรวจภาพถ่ายรังสีเพื่อดูกระดูกกรามทั้งหมดและความยื่น ของกระดูกกราม ฟันซี่ต่าง ๆ รวมทั้งศึกษาแนวในการตัดกระดูกกรามว่าจะตัดในแนวใดจึงจะเหมาะสม เป็นต้น
การตัดกรามนั้นจำเป็นต้องทำร่วมกับการดมยาสลบ เนื่องจากจะต้องมีการใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยอันเล็ก ๆ สอดเข้าไปตัดที่มุมกราม โดยทั่วไปแล้วจะสามารถเข้าไปตัดกระดูกได้โดยการผ่าตัดได้สองทางด้วยกันคือ
- การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก
- การผ่าตัดจากภายในช่องปาก
การผ่าตัดจากภายนอกช่องปาก : เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะเปิดแผลจากภายนอกบริเวณใกล้ ๆ กับมุมกรามแล้วค่อย ๆ เลาะผ่านกล้ามเนื้อและหลบเส้นประสาทสำคัญเส้นหนึ่งที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ มุมปาก หลังจากนั้นจึงตัดแยกกล้ามเนื้อมุมกรามออกเข้าหากระดูกมุมกราม เมื่อสามารถเปิดกระดูกมุมกรามส่วนที่ต้องการจะตัดได้เรียบร้อยแล้วจึงใช้ เลื่อยตัดกระดูกตามแนวที่ต้องการแล้วเอาชิ้นกระดูกที่เกินนั้นออกไป ตกแต่งมุมกระดูกให้เรียบร้อยแล้วจึงทำการเย็บแผลปิด วิธีนี้แพทย์สามารถผ่าตัดได้ง่าย เนื่องจากไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรพิเศษมากนัก และไม่ต้องผ่านช่องปากเข้าไปหากระดูก อาการบวมจึงมักจะน้อยกว่า แต่วิธีนี้มีโอกาสที่แพทย์อาจจะกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงมุม กรามได้ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็สามารถทำให้เกิดการเอียงหรือเบี้ยวของมุมปากได้ใน ระยะแรก และสิ่งสำคัญคือแผลผ่าตัดที่มุมกรามนั้นบางรายอาจจะสามารถเห็นและสังเกตได้ และบางรายก็เกิดอาการแผลปูดนูนตามมาในระยะหลังได้ ซึ่งจะต้องทำการรักษาต่อไป
การผ่าตัดจากภายในช่องปาก : วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างจะยุ่งยากมากกว่า และจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่พิเศษกว่าการตัดจากภายนอก แพทย์จะทำการเปิดแผลที่ในช่องปากตรงบริเวณหลังฟันกรามซี่สุดท้าย ในแนวดิ่ง แล้วค่อย ๆ เลาะแยกเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวรวมทั้งกล้ามเนื้อที่คลุมมุมกรามออก หลังจากนั้นจึงเลาะเยื่อหุ้มกระดูกออกให้กว้างเพียงพอที่จะสอดใส่เครื่องมือ เข้าไปที่มุมกราม เพื่อจะให้เห็นมุมกรามและกรามส่วนหลังได้ชัดเจน หลังจากนั้นจึงใช้เลื่อยที่มีรูปร่างเป็นเลื่อยมุมฉากเข้าไปทำการตัดตามแนว ที่ต้องการ เลื่อยชนิดนี้จะมีความยาวเพียงพอที่จะทำให้การตัดในแนวตั้งฉากสามารถทำได้ หลังจากนั้นแพทย์จึงนำชิ้นกระดูกที่ถูกตัดขาดออกมาพร้อมกับการตกแต่งกระดูก ส่วนที่เหลือให้กลมมนตามปกติ แล้วจึงเย็บแผลปิดตามเดิม ปัญหาของการตัดด้วยวิธีนี้นั้นส่วนมากมักจะเป็นเรื่องเทคนิกการผ่าตัดซึ่ง มักจะต้องอาศัยประสบการณ์ความชำนาญของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด รวมทั้งต้องการเครื่องมื่อที่เหมาะสมด้วยจึงจะทำให้การผ่าตัดได้ผลดีและ กระดูกที่ตัดออกมานั้นมีขนาดที่พอเหมาะ การผ่าตัดจากภายในปากนี้มีการดึงรั้งกล้ามเนื้อและเยื่อบุปากมากกว่าจึงมี อาการบวมค่อนข้างจะมากกว่าการตัดจากภายนอกปาก แต่ไม่มีแผลเป็นให้เห็นจากภายนอกและการกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทก็มักจะ ไม่เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ
การดูแลหลังการผ่าตัด : หลังการผ่าตัดนั้นโดยมากมักจะมีอาการบวมไม่มากก็น้อย ผู้ป่วยมักจะปวดบริเวณที่ผ่าตัดบ้างพอสมควร แต่มักจะเข้าที่ทั้งหมดในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์ ส่วนอาการบวมที่มุมกรามมักจะมีอยู่ประมาณ 1-2 เดือนจึงจะเห็นรูปร่างกระดูกกรามใหม่ การฝึกการอ้าปากนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะแนะนำโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับการผ่าตัดจาก ในช่องปาก ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการติดแข็งของพังผืดที่อยู่รอบกรามและใกล้ ๆ กับข้อของขากรรไกร ส่วนการอักเสบที่รุนแรงนั้นมักจะพบได้น้อยและไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องดังกล่าว
ผลข้างเคียงของการผ่าตัดลดมุมกรามนั้นมีได้เหมือนกัน ที่เคยพบมาก็ได้แก่
- ปัญหาเรื่องแผลผ่าตัดอักเสบติดเชื้อ สามารถพบได้ทั้งการผ่าตัดจากภายในและภายนอกช่องปาก แต่ทั้งนี้มักจะเป็นการอักเสบที่ไม่ค่อยจะรุนแรงนัก และสามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะธรรมดา ก็มักจะเพียงพอ มีส่วนน้อยมากที่จะลุกลามเป็นการติดเชี้อที่กระดูกกราม
- ความไม่เท่ากันของกระดูกกราม ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากกระดูกกรามที่ไม่เท่ากันตั้งแต่ก่อนการผ่าตัด หรือรวมทั้งการตัดกระดูกกรามที่ไม่เท่ากัน หรือเนื่องจากการบวมที่แตกต่างกันทั้งสองข้าง
- การกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่เลี้ยงริมฝีปากและเหงือก ซึ่งโดยทั่วไปหมอจะพยายามที่จะรักษาและหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนต่อเส้น ประสาทดังกล่าว และในกรณีที่ผ่านอกปากหมอจะพยายามเลี่ยงต่อเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อ มุมปากล่าง แต่การดึงรั้งอาจจะทำให้เกิดการขยับปากหรือเกิดอาการชาที่ริมฝีปากได้ ซึ่งมักจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนก็จะหายเป็นปกติได้
- การเกิดกระดูกกรามหัก เป็นข้อแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก แต่ในกรณีที่การตัดไม่ถูกต้องก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งการแก้ไขก็อาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาเช่นเดียวกับกระดูกกรามหักได้แก่ การยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะหรือการจัดฟันให้เข้าที่ในช่วงเวลาหนึ่ง
โดยสรุป การผ่าตัดกระดูกมุมกรามให้เล็กลง สามารถแก้ไขลักษณะของใบหน้าที่กางเหลี่ยมให้ดูเล็กลงและเรียวขึ้นได้ แต่ทั้งนี้ควรได้รับการผ่าตัดและตรวจอย่างละเอียดโดยแพทย์ผู้มีความชำนาญและ มีอุปกรณ์ผ่าตัดที่ครบถ้วน เพื่อผลการผ่าตัดที่น่าพอใจและมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด?
ข้อมูลจาก http://www.2plastic.com ,นิตยสาร MedicalLink ฉบับ 005
Credit: siliconeclub.com
Credit pic: piercemattiepublicrelations.com
341 thoughts on “การเหลากราม”