white_12

กลูตาไธโอน

 

กลูตาไธโอน[1]
Glutathion.svg
Glutathione-from-xtal-3D-balls.png
ชื่อตาม IUPAC (2S)-2-amino-4-{[(1R)-1-[(carboxymethyl)carbamoyl]-2-sulfanylethyl]carbamoyl}butanoic acid
ชื่ออื่น ?-L-Glutamyl-L-cysteinylglycine
(2S)-2-Amino-5-[[(2R)-1-(carboxymethylamino)-1-oxo- 3-sulfanylpropan-2-yl]amino]-5-oxopentanoic acid
ตัวระบุ
ตัวย่อ GSH
เลขทะเบียน CAS [70-18-8][CAS]
PubChem 124886
MeSH Glutathione
SMILES
ChemSpiderID 111188
คุณสมบัติ
สูตรเคมี C10H17N3O6S
มวลต่อหนึ่งโมล 307.32 g/mol
จุดหลอมเหลว 195 ?C, 468 K, 383 ?F
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ Miscible (ละลายได้เล็กน้อย)
หากมิได้ระบุเป็นอย่างอื่น ข้อมูลที่ให้ไว้นี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 ?C, 100 kPa
แหล่งอ้างอิงของกล่องข้อมูล

กลูตาไธโอน (อังกฤษ: glutathione) เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ปกติแพทย์จะใช้ในปริมาณเพียง 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง มีกลุ่มคลินิกเสริมความงาม เป็นสารอ้างว่าใช้ผสมกับวิตามินซี ฉีดทำดีท็อกซ์ผิวขาว[2]

กลูตาไธโอน เป็น tripeptides ของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซิสทีน (cysteine), กรดกลูตามิค (glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ซึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ และมีในอาหาร เช่น นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอคโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม [3]

กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้ตับขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังนำมารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง ผลข้างเคียงทำให้ผิวขาว

สาวอยากสวยอย่าให้เขาหลอก กลูต้าไธโอน ไม่ช่วยผิวขาว

 

ในหมู่คนรักสวยรักงาม เป็นที่ทราบกันแบบอวดอ้างกล่าวขานกันต่อๆ มาว่า “กลูต้าไธโอน (glutathione)” เป็นสารที่ทำให้ผิวขาวผ่องเป็นที่นิยมกันมาก

แม้คุณหมอจะออกมาเตือนว่าผลของการใช้สาร กลูต้าไธโอน มันไม่เป็นอย่างนั้น ถึงขั้นที่ อย.และแพทยสภาออกกฎข้อบังคับห้ามแพทย์นำ กลูต้าไธโอน มาฉีด เพราะเป็นการหลอกลวงผู้บริโภค แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีใครอยากฟัง กลูต้าไธโอน กลับยิ่งแพร่ระบาดมากขึ้น

นายแพทย์ชลทิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวให้ข้อคิดกับสาวที่อยากสวยด้วย กลูต้าไธโอน ว่า ขอให้ยึดหลักสำคัญว่าการฉีดสาร กลูต้าไธโอน หรือสิ่งต่างๆ เข้าร่างกายนั้นมีหลักสำคัญข้อเดียวคือ นำเข้าสู่ร่างกายก็ต้องสามารถเอาออกได้ ถ้าเอาเข้าแล้วเอาออกไม่ได้ หรือไม่สลายตัวไปเองถือว่าไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอม

ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในเรื่อง “กลูต้าไธโอน (glutathione)” นั้น นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย บอกว่า เท่าที่ทราบมีการขาย กลูต้าไธโอน เกลื่อนตามเว็บไซต์ ราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงเป็นหมื่นบาท ที่น่ากลัวคือมีการแนะนำวิธีฉีด กลูต้าไธโอน และอวดอ้างสรรพคุณจนทำให้คนที่อยากขาวเกิดความสนใจ และซื้อหาสาร กลูต้าไธโอน ไปทดลองทั้งฉีดและกินเพื่อให้ตัวขาว ก็ขอแจ้งให้ทราบว่าไม่เป็นความจริง

นายแพทย์ชลทิศ บอกว่า ความจริงแล้วปกติร่างกายจะสร้าง กลูต้าไธโอน ได้เอง จากสารอาหารธรรมชาติที่รับประทานเข้าไป เช่น เนื้อสัตว์ ผักสีเขียว รวมทั้งสมุนไพรอย่างอบเชย เป็นต้น เนื่องจากมันมีหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ หรือสารพิษต่างๆ จากร่างกาย นอกจากนี้ ยังป้องกันความเสื่อมและเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกายอีกด้วย

ถึงแม้การฉีด กลูต้าไธโอน จะไม่ส่งผลอันตรายโดยตรงกับร่างกาย แต่การใช้เข็มฉีดเข้าตัวเองกันอย่างแพร่หลาย โดยไม่ระมัดระวังและคำนึงถึงสุขอนามัยแล้ว อาจทำให้เกิดการติดเชื้อและปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน

นั่นก็เป็นคำกล่าวเตือนจากคุณหมอในแวดวงความสวยงามโดยตรง รู้แล้วก็อย่าปล่อยให้โดนหลอกขายสาร กลูต้าไธโอน ต่อไปโดยไม่จำเป็น

 


 

ขอบคุณบทความจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
และ  http://hilight.kapook.com/view/31438

Credit: siliconeclub.com

 

ใส่ความเห็น