มดลูกอักเสบ…น่ากลัวไหมนะ
บทความโดย นพ.ก้องศาสดิ์ ดีนิรันดร์
มดลูกอักเสบ โรคนี้คุณๆ อาจได้ยินบ่อยๆ จนคุ้นหู ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้หญิงอายุระหว่าง 15-45 ปี เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease) คือ การอักเสบแบบเฉียบพลันในบริเวณมดลูกและอาจแพร่กระจายไปสู่บริเวณช่องท้องได้ โรคนี้อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งขึ้นอยู่กับเป็นการติดเชื้อในบริเวณใด
- ถ้าติดเชื้อและเกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ก็จะเรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
- ถ้าติดเชื้อที่ปีกมดลูก จะเรียกว่า ปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) คือ การติดเชื้อและเกิดการอักเสบขึ้นในบริเวณปีกมดลูก
สังเกตตัวเองถ้า…
- มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ซึ่งอาการไข้จะเกิดขึ้นพร้อมหรือใกล้เคียงกับอาการปวดท้องน้อย
- ปวดท้องน้อย ส่วนใหญ่มักเริ่มปวดก่อนและหลังมีประจำดือน (ส่วนใหญ่มักไม่เกิน 14 วันหลังมีประจำเดือน) เป็นอาการปวดหน่วงตลอดเวลาร่วมกับปวดเกร็งเป็นระยะ และจะรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือขณะมีเพศสัมพันธ์
- ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียนหรือท้องเสียร่วมด้วย แสดงว่าโรคได้ลามไปถึงเยื่อยุช่องท้องแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ อาจะเป็นอันตรายได้
- ตกขาวมีกลิ่น
สาเหตุ
มักเกิดจากการติดเชื้อในบริเวณอวัยวะเพศ และเกิดการอักเสบแล้วลามขึ้นมายังส่วนบน โดยแบ่งออกเป็น
- การติดเชื้อจากเพศสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่พบว่าเป็นเชื้อหนองใน (Neisseria Gonorrhoea) และเชื้อหนองในเทียม (Chlamydia Trachomatis) ซึ่งส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่ชอบเที่ยวและมีคู่นอนหลายคน
- ภาวะขาดสมดุลของสิ่งแวดล้อมในช่องคลอด เช่น มีเลือดออกในช่องคลอดเรื้อรัง การบาดเจ็บจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมักเป็นเชื้อแบคทีเรีย เช่น Peptococci, Peptostreptococci, Gardnerella Vaginalis และอื่นๆ
- การติดเชื้อหลังคลอด (Pueperai Infectin) มักเกิดจากการกระตุ้นเชื้อที่มีอยู่แล้วในช่องคลอด อย่างเชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส และเชื้อสเตรปโตค็อกคัสจนเกิดเป็นโรค โดยมักมาจากการคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น โลหิตจาง คลอดยาก การบาดเจ็บ เศษรกค้าง ภาวะครรภ์เป็นพิษ ถุงน้ำคร่ำแตกรั่วอยู่นานก่อนคลอด ฯลฯ ซึ่งมักเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
- การทำแท้ง หากไม่ได้ทำอย่างสะอาดอาจทำให้เกิดการอักเสบขึ้น และอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้
ใครที่เสี่ยงต่อโรคนี้
- ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ หญิงบริการ หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่เสี่ยงต่อการมีโรคหนองในหรือหนองในเทียม
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อย เนื่องจากมีภูมิป้องกันตัวเองต่ำ และมูกของปากมดลูกยังไม่สามารถป้องกันการลุกลามของเชื้อแบคทีเรียได้ดีพอ
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน หรือในช่วงหลังคลอดได้ไม่นาน เนื่องจากในช่วงนี้ สภาพของมดลูกยังไม่มีกลไกในการป้องกันการติดเชื้อได้ดีพอ จึงอาจทำให้ติดเชื้อและเกิดการลุกลามได้
- ผู้ที่ใช้การคุมกำเนิดแบบห่วงอนามัย
- ผู้ที่สวนล้างช่องคลอดเป็นประจำ เนื่องจากการสวนล้างช่องคลอดทำให้เสียภาวะสมดุลของเชื้อโรคตัวที่ควรจะมีในช่องคลอดและบริเวณมดลูกไป ปฏิชีวนะตามเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค
แนวทางป้องกัน
- งดการร่วมเพศกับผู้ที่มีความเสี่ยง
- หลังการคลอดบุตร ขูดมดลูกหรือแท้งบุตร ควรงดการร่วมเพศหรือสวนล้างช่องคลอดเป็นเวลา 6 อาทิตย์
- ถ้าสงสัยว่าติดเชื้อหนองใน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ก่อนที่จะลุกลามไปมากขึ้นจนกลายเป็นปีกมดลูกอักเสบ
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ
วิธีการรักษา
ถ้าดูตามอาการแล้วสงสัยว่าอาจจะเป็นมดลูกอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันการลุกลามไปส่วนอื่น ถ้าถึงขั้นมีไข้สูง กดแล้วเจ็บ หรือปวดบริเวณท้องน้อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจรักษาดังนี้
- ตรวจปัสสาวะ
- ตรวจเม็ดเลือดขาว
- นำหนองในช่องคลอดไปตรวจหาเชื้อ หรืออัลตราซาวด์
ผู้ป่วยอาจต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะต้องดูตามอาการของผู้ป่วย เช่น การให้ยาแก้ปวด การลดไข้ การให้น้ำเกลือ และอาจต้องให้เลือดถ้าผู้ป่วยมีอาการซีด และต้องให้ยา
ขอบคุณข้อมูลจาก ablehealth11.blogspot.com
Credit pic: healthspablog.org